สถานที่เกิดเหตุ

โดย อนันดา ดี. สิงปัททุม,วันที่ 15 มกราคม 2560

107

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(ร.8) ทรงเสด็จสวรรคต บนพระที่(เตียง)ในห้องบรรทมของพระองค์ ที่ชั้น2 ของพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมหาราชวัง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาประมาณ 9.30 น.

พระที่นั่งบรมพิมาน ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง บริเวณสวนศิวาลัย (อยู่ฝั่งตะวันออกของพระบรมหาราชวัง) โดยด้านหน้าพระที่นั่ง หันไปในทิศเหนือ และมีสวนด้านหลังอยู่ด้านทิศใต้ อาคารเป็นอาคาร2ชั้น(แต่มีส่วนใต้หลังคาต่อจากชั้น2 และมีบันไดขึ้นไปได้)

c1430-anan27sdeath1x

ภาพชั้นบน(ชั้น2)ของพระที่นั่งบรมพิมาน รวมทั้งที่อยู่ของบุคคลทั้ง7ที่ชั้นบน ในขณะเกิดเหตุ ตามคำให้การของแต่ล่ะคน  โดยขณะเกิดเหตุ มีบุคคลอยู่ 8 คน บนพระที่นั่งบรมพิมานเวลานั้น คือ[1]

  • ในหลวงอานันท์(ร.8) : สวรรคตเพราะพระแสงปืนบนพระแท่นบรรทม
  • สมเด็จพระราชชนนี : กำลังเตรียมตัวออกจากห้องของพระองค์ท่านไปเสวยพระกระยาหารเช้า
  • พระอนุชา(ร.9) : เดินเข้าๆ ออกๆ อยู่ระหว่างห้องบรรทมของพระองค์กับห้องเครื่องเล่นที่อยู่ติดกัน
  • นส.จรูญ ตะละภัฏ : อยู่ในห้องสมเด็จพระราชชนนี กำลังเตรียมทำความเรียบร้อยพระแท่น
  • พระพี่เลี้ยงเนื่อง(นส.เนื่อง จินตะดุลย์) : กำลังจัดของอยู่ในห้องบรรทมพระอนุชา(ร.9)
  • นายฉลาด เทีมงามสัจ : กำลังเฝ้าเครื่องเสวยเช้าอยู่ที่โต๊ะเสวย ณ ห้องเสวยพระกระยาหารเช้า
  • นายบุศย์ ปัทมศริน : นั่งคู่อยู่กับนายชิต ที่ประตูทางเข้าห้องแต่งพระองค์(อันเป็นทางผ่านเข้าสู่ห้องบรรทม)
  • นายชิต สิงหเสนี : นั่งคู่อยู่กับนายบุศย์

chanbonbarompimarn

ที่เกิดเหตุคือเตียงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8(สีแดง)  ภายในห้องบรรทมของพระองค์(กรอบสีแดง) มีประตูที่ติดกันอยู่3ทาง(ด้านตะวันตก) คือ 1.ประตูด้านบน ติดกับห้องทรงพระอักษร(สีฟ้า) 2.ประตูตรงกลาง ติดกับห้องทรงพระสำราญ(สีเทา) 3.ประตูด้านล่าง ติดกับห้องแต่งพระองค์(มี ชิต-บุศย์ เฝ้าอยู่)   และ จากการสอบสวนปรากฏว่า ไม่พบร่องรอยการปีนป่ายจากภายนอก และทางเข้าออกห้องบรรทมมีแค่ทางเดียวในขณะนั้น โดย

  • ด้านเหนือ ทางห้องทรงพระอักษร ถูกลงกลอนจากภายในตลอดทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ
  • ด้านตะวันตก ติดกับห้องทรงพระสำราญ มีประตู 3 บาน แต่ถูกปิดตายทั้งหมด โดยลงกลอนจากฝั่งห้องบรรทม และฝั่งห้องทรงพระสำราญมีตู้โต๊ะเก้าอี้วางกั้นอยู่ เป็นอันว่า ด้านกลางนี้ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก คงเหลือแค่เพียงทางเดียว คือ
  • ด้านใต้ ตรงส่วนห้องแต่งพระองค์ ซึ่งมีนายชิต นายบุศย์ นั่งเฝ้าอยู่ตลอดเวลาทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ[14]

**ประตูเชื่อมห้องสมเด็จพระอนุชาและห้องเครื่องเล่นถูกปิดตาย(ขีดแดง) แต่ประตูที่เหลือเปิดตลอดเวลา[16]

ทางขึ้นสู่ชั้น2ของพระที่นั่ง มีบันไดอยู่3จุด(สีเขียว) คือ

  • บันไดเวียน ด้านตะวันตก ที่อยู่ระหว่างห้องสมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระอนุชา(ที่ชั้น1 จะอยู่ระหว่างห้องรับแขกฝ่ายใน และห้องรับประทานอาหารฝ่ายใน) แต่ถูกปิดตายไว้นานแล้วก่อนเกิดเหตุ[15] 
  • ห้องบันไดเล็ก ติดกับห้องเครื่องเล่นเชื่อมชั้น 1 กับชั้น 2 และห้องใต้หลังคา เปิดใช้ตอน 7 โมง และจะถูกปิดเมื่อหมดเวลาคือไม่มีแขก เมื่อเปิดใช้จะมียามเฝ้าอยู่ที่ชั้นล่าง[17]
  • บันไดใหญ่ เปิดตลอดเวลา เวลากลางคืนจะมียามเฝ้าชั้นบน วันที่เกิดเหตุ มียามเฝ้าอยู่ข้างล่างคนนึงคือนายพร หอมเนียม[18]

ภาพชั้นล่าง(ชั้น1)ของพระที่นั่งบรมพิมาน และบริเวณที่มียามเฝ้าอยู่ ณ ขณะเกิดเสียงปืน

800px-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899e0b8a5e0b988e0b8b2e0b887e0b882e0b8ade0b887e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b5e0b988e0b899e0b8b1e0b988e0b887

ขณะเกิดเหตุมีมหาดเล็กยืนยามอยู่ ดังที่เห็นในภาพคือ มุมหน้าพระที่นั่ง 2 คน ที่บันไดหลังข้างอ่างน้ำพุ 2 คน กับบันไดขึ้นชานชาลาสุดพระที่นั่งด้านตะวันตก 1 คน และมีชาวที่อยู่เวรที่บันไดระหว่างห้องภูษากับห้องเครื่องเล่นอีก[19]

  • ร.ท.ณรงค์ สายทอง เป็นผู้บังคับกองทหารมหาดเล็กที่รักษาพระที่นั่งบรมพิมาน ได้สอบถามทหารยามทั้ง (พลทหาร ขจร ยิ้มรักษา, พลทหาร บุญชู กัณหะ, พลทหาร รอย แจ้งเวหา, พลทหาร ร่อน กลิ่นผล, พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์) ที่อยู่เฝ้าประตูพระที่นั่ง ได้ความว่าหลังเสียงปืน ไม่มีคนวิ่งออกมจากพระที่นั่งไปข้างนอกเลย[20]
  • พลทหารขจร ยิ้มรักษา เฝ้าอยู่ที่บันไดพระที่นั่งคู่กับพลทหารบุญชู ก่อนเสียงปืนไม่พบใครผ่านตนเองเข้าไปในพระที่นั่งสักคนเดียว เฝ้าอยู่จนได้ยินเสียงปืนแล้ว ก็ไม่พบว่ามีใครผ่านเข้าออก[21]
  • พลทหารบุญชู กัณหะ เฝ้าอยู่ที่บันไดพระที่นั่งคู่กับพลทหารขจร หลังเสียงปืนไม่เห็นมีใครผ่านขึ้นลง จนถึง 11.00น. ก็ไม่พบเห็นผ่านเข้าออกเลย[22]
  • พลทหารลอย แจ้งเวหา เฝ้าอยู่ที่บันไดข้างซ้ายด้านหลังพระที่นั่งคู่กับพลทหารร่อนอยู่ทางด้านขวา หลังเสียงปืนมีมหาดเล็กเชิญเครื่องเสวย 2 คนผ่านขึ้นลงบันไดกลาง นอกนั้นไม่พบใครผ่าน และก่อนเสียงปืนไม่มีคนแปลกปลอมผ่านไปเลย[23]
  • พลทหารร่อน กลิ่นผล เฝ้าอยู่ทางบันไดหลังคู่กับพลทหารลอย หลังเสียงปืนเห็นมีคนเชิญเครื่องเสวย 2 คนผ่านขึ้นลงบันไดกลาง นอกจากนี้ไม่พบเห็นใครผ่านขึ้นลง[24]
  • พลทหารเค้า ดีประสิทธิ์ เฝ้าอยู่บันไดด้านตะวันตก มีประตูอยู่แต่ถูกปิดตายไว้ และก่อนถึงหลังเสียงปืน ไม่พบเห็นใครผ่านทางประตูที่ตนเฝ้าอยู่เลย[25]
  • นายพร หอมเนียม เฝ้าอยู่บันไดอัฒจันทร์ใหญ่ หลังเสียงปืนเห็นนายมณี บูรณสุตและนายมังกร ภมรบุตรขึ้นๆ ลงๆ นอกจากนี้ไม่พบเห็นมีใครแปลกปลอม [26]

ทิศทางการเคลื่อนไหวของแต่ละคน หลังเกิดเสียงปืนดัง (ตามคำบอกเล่าของแต่ละคน)

800px-peoples_position_in_baromphiman_throne_hall_09-06-2489

เริ่มจาก หลังเกิดเสียงปืนดัง นายชิต(ที่นั่งคู่กับนายบุศย์) ได้วิ่งเข้าไปในห้องบรรทม พบร.8 นอนจมกองเลือดอยู่บนเตียง จึงรีบวิ่งไปตามพระราชชนนี(วิ่งผ่านเฉลียงด้านหลัง) จากนั้นทั้งนายชิตและพระราชชนนีจึงวิ่งมาตามเฉลียงด้านหน้า แล้วผ่านเข้าห้องทรงพระสำราญไปเข้าประตูด้านใต้(ติดกับห้องแต่งพระองค์) เข้าไปดูในหลวงอานันท์ที่เตียง จากนั้นคนอื่นๆที่เหลือ จึงทยอยตามกันมาที่ห้องบรรทม ร.8

ภาพถ่ายพระที่(เตียง)ของในหลวง ร.8 โดยหันหัวไปทางห้องพระ(ทางทิศตะวันออก) และบริเวณรอบพระที่ มีมุ้งกางอยู่โดยรอบ อีกทั้งยังมีเหล็กทับกดมุ้งไว้ นอกจากนี้ จากการตรวจสอบ มุ้งไม่มีรอยทะลุ และกระสุนพุ่งลง ผ่านพระเขนย(หมอน) ฝังลงไปในฟูกด้านล่าง

lowbed

ภาพถ่ายประตูด้านใต้(ติดกับห้องแต่งพระองค์) ที่นายชิต-นายบุศย์ นั่งเฝ้าอยู่ขณะเกิดเหตุ ด้านซ้ายคือ ประตูห้องทรงพระสำราญ(ที่พระราชชนนีและนายชิตวิ่งลัดมาออก)

e0b8abe0b899e0b989e0b8b2e0b8abe0b989e0b8ade0b887e0b897e0b8a3e0b887
ภาพเคลื่อนไหวจำลองเหตุการณ์ อ้างอิงจากคำให้การในศาลกลางเมือง ตามมุมมองขอบผู้เขียน

โปรดดูรายละเอียด แบบสรุปเป็น mind map เพื่อให้เห็นภาพรวมของพระที่นั่งบรมพิมาน ไปที่โพสนี้ครับ>>>Mind map พระที่นั่งบรมพิมานโดยละเอียด 


 

Author: TheDeathofKingAnanda

สองนักประวัติศาสตร์สมัครเล่น ผู้มุ่งมั่งศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีการสวรรคต ร.๘ อย่างจริงจังที่สุด

Leave a comment